Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1061
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอุมารัตน์ ศิริจรูญวงศ์-
dc.contributor.authorนวพรรษ ลักขณานุรักษ์-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อมth
dc.date.accessioned2023-01-16T13:47:07Z-
dc.date.available2023-01-16T13:47:07Z-
dc.date.issued2009-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1061-
dc.description.abstractเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาให้ทราบสาเหตุที่มีผลต่อค่าคะแนนเฉลี่ยรายภาคเรียนที่ 2 ลดลงเมื่อเทียบกับรายภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2550 ของนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และสาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีชุดข้อคำถาม 3 เรื่อง ได้แก่ ปัญหาส่วนตัว ระดับความคิดขั้นสูง และพฤติกรรมมุ่งเรียน ที่มีค่าความเที่ยงและความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.63 0.73 และ 0.91 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 121 คน โดยเก็บข้อมูลย้อนหลัง และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วย Chi-Square ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนลดลง มีจำนวน 104 คน (ร้อยละ 86.0) ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคล ระดับปัญหาส่วนตัว ระดับการคิดขั้นสูง และระดับพฤติกรรมมุ่งเรียน ไม่สัมพันธ์กับการลดลงของคะแนนเฉลี่ยรายภาคที่ 2 เมื่อเทียบกับภาคเรียนที่ 1 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้การลดลงของเกรดอาจเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้ ประการแรกอาจเพราะกลุ่มตัวอย่าง ไม่ถนัดและมีพื้นฐานอ่อนในรายวิชาเคมี และคณิตศาสตร์ ซึ่งเห็นได้จากผลการเรียนส่วนใหญ่อยู่ในช่วงคะแนน C+ และ C ประการที่สอง การตัดเกรดวิชาดังกล่าว ตัดรวมกับคณะเทคนิคการแพทย์ คณะกายภาพบำบัด และคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสะสมก่อนเข้ามหาวิทยาลัยสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมของกลุ่มตัวอย่าง และประการสุดท้ายในภาคเรียนที่สอง มีรายวิชาเฉพาะที่ต้องเรียนมากขึ้น ขณะที่มีกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่พฤติกรรมมุ่งเรียนรายข้อ ได้แก่ การเข้าเรียนชั่วโมงฝึกปฏิบัติในรายวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ การติดตามข่าวคราวเกี่ยวกับวิชาชีพอยู่เสมอ และการเข้าห้องสมุดใน/นอกมหาวิทยาลัยเมื่อมีเวลาว่าง มีความสัมพันธ์กับการลดลงของค่าคะแนนเฉลี่ยรายภาคที่ 2 เมื่อเทียบกับภาคเรียนที่ 1 ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลจากงานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดให้มีการเรียนเพื่อปรับพื้นฐานก่อนเปิดภาคการศึกษา ส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ ค้นคว้าด้วยตนเองให้มากขึ้นth
dc.description.abstractThe purpose of this research is to study the effected causes on grade point average (GPA) decreasing from the 1st semester to 2nd semester of I.D. 50 students in the department of Occupational health and safety and Environmental health, Faculty of Public Health and Environment, Huachiew Chalermprakiet University (HCU) in the year 2007. The questionair has 3 topics which are private problem, higher-order thinking and intentional study behavior which have reliability equal to 0.63, 0.73 and 0.91 respectively. The data collected from 121 samples by retrospective method then analyzed as percentage, standard diviation and Chi-Square. The results of study showed that 104 samples (86.0%) got decreasing GPA. Personal data, privated problem level, higher-order thinking level and intentional study behavior level did not correlate with the decreasing GPA at 0.05 significant levels. The three possible reason caused decreasing GPA should be as followed 1) the samples lacked scientific skill and basic knowledge on Mathematics and Chemistry of which grade these subjects got were C+ and C, 2) the grade determination of the subjects, which was determined by the range of scores of the students from the faculty of Medical Technology, the faculty of Physical Therapy and the faculty of Pharmacy. Moreover, the students of these faculties had GPAs in high school higher than the samples and 3) the samples had to study more specific subjects in the 2nd semester than the 1st semester and the samples had to participate the activities continuosly. The intentional study behavior such as attending practicing classes, following professional news and searching data in the library during free time related to the GPA decreasing in 2nd semester compared to 1st semester at 0.05 significant levels. The findings suggestions were to provide basic knowledge adjustment course for the samples before the beginning of 1st semester and to support more self-study behavior.th
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2550th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม -- นักศึกษาth
dc.subjectHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public Health and Environment -- Studentsth
dc.subjectการสอบth
dc.subjectExaminationsth
dc.subjectการให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)th
dc.subjectGrading and marking (Students)th
dc.subjectพฤติกรรมการเรียนth
dc.subjectLearning behaviorth
dc.titleสาเหตุที่มีผลต่อค่าคะแนนเฉลี่ยลดลงของนักศึกษารหัส 50 คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.title.alternativeThe Efffected Causes on Grade Point Average Decreasing of I.D. 50 Students in Faculty of Public Health and Environment, Huachiew Chalermprakiet Universityth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Public and Environmental Health - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf157.26 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf89.56 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf136.08 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf331.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf111.76 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf454.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf124.16 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf456.42 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.