Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1080
Title: การสำรวจภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ : ศึกษาเฉพาะกรณี 25 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการ
Other Titles: The Corporate Image Survey of Huachiew Chalermprakiet University : A Case Study of 25 Upper Secondary Schools in Samutpakarn Province
Authors: อภิชัจ พุกสวัสดิ์
Apichat Puksawadde
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- การประชาสัมพันธ์
Huachiew Chalermprakiet University -- Public realtions
ภาพลักษณ์องค์การ
Corporate image
นักเรียนมัธยมศึกษา -- ทัศนคติ
High school students -- Attitude
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษาเรื่องการสํารวจภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ:ศึกษาเฉพาะกรณี 25 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดสมุทรปราการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารไปจากสื่อมวลชนและข่าวประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อสํารวจการเคยหรือไม่เคยได้รับข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ รวมทั้งเพื่อสำรวจเหตุผลและความสนใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติตลอดจนเพื่อสํารวจภาพลักษณ์ ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติตามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ การศึกษาในครั้งนี้ได้ทําการวิจัยในเชิงปริมาณโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสํารวจและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดสมุทรปราการ 19 โรงเรียนในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและ 6 โรงเรียนในสังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสัดส่วน รวมจํานวนกลุ่มตัวตัวอย่างทั้งสิ้น 375 คน การวิเคราะห์ข้มูลกระทําโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ one sample t-test,chi square ประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป ผลการศึกษาพบว่า1.กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 17 ปีและมีคะแนนเฉลี่ยระหว่าง 3.01-3.50 มากที่สุด ผู้ปกครองของกลุ่มตัวอย่างประกอบอาชีพรับจ้างมากที่สุด ครอบครัวของกลุ่มตัวอย่าง มีรายได้ 10,001-20,000 บาทต่อเดือนมากที่สุด 2.กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารทั่วไปจากสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างได้รับข่าวประชาสัมพัน์ของมหาวิทยาลัยผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด กลุ่มตัวอย่างได้รับข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมการแนะแนวการศึกษาของมหาวิทยาลัยมากที่สุด 3. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 เคยได้รับข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย 4.เหตุผลที่กลุ่มต้วอย่างสนใจศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมากที่สุด คือ คณะวิชาต่างๆ ที่มหาวิทยาลัยเปิดสอน 5.กลุุมตัวอย่างให้คําตอบว่า อาจจะมาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติมากที่สุด ภาพลักษณ์ความมีชื่อเสียง ความมั่นคงการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการแก่สังคมและการประชาสัมพนธ์ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นภาพลักษณ์เชิงบวก ภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติในภาพรวมทั้งหมด กล่าวคือ ความมีชื่อเสียง ความมั่นคงของมหาวิทยาลัย การจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย ความเป็นสากลของมหาวิทยาลัย รวมทั้งการบริการวิชาการแก่สังคมตลอดจนการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเป็นภาพลักษณ์เชิงบวก
This research entitled“The Corporate Image Survey of Huachiew Chalermprakiet University:a Case Study of 25 Upper Secondary Schools in Samutpakarn Province” focuses on studying demographics 25 Upper Secondary Schools Students. Their general and Huachiew Chalermprakiet public relations news and information consumption behavior. The research surveys whether 25 Upper Secondary Schools Students have ever received the university public relations news and information. The research also examines their reasons and interests in pursuing their study at Huachiew Chalermprakiet University as well as their perceived image towards the university. The research employed a quantitative approach using survey design and questionnaires as a data-collection technique to gather information from 375 Matthayom 6 students in 19 upper secondary schools under the Office of the Basic Education Commission and 6 upper secondary schools under the Office of the Private Education Commission in Samutprakarn province. The sampling techniques used quota sampling. Descriptive statistics (percentage, mean and standard deviation) and inferential statistics (one sample t-test and chi square) were used for data analysis and hypothesis testing, all of which were done through SPSS PC for window. The results are as follows: 1.There were more female than male respondents. Most of them were 17 years of age and earned grade point average between 3.01-3.50. Most of their parents were employees with family income between 10,001-20,000 baht per month. 2. Most of the sample were exposed to general news and information through the internet. 3.Most(or 67.2 percent) sample obtained the university public relations news and information through the internet and the university’s education counseling activities. 4.The reason the sample were interested in pursuing their study at Huachiew Chalermprakiet University was that the university offers various undergraduate degrees. 5.The sample also expressed the possibility to pursue their study at Huachiew Chalermprakiet University. The perceived image of the reputation,the stability,the study management,the internationality,the academic service for the public and the public relations activity of Huachiew Chalermprakiet University in general was geared towards a positive image. In short,the results have shown that the 6 dimensions of Huachiew Chalermprakiet University images,which were reputation, stability, study management, internationalization, public relations activities were perceived as positive.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1080
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf113.3 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf74.15 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf101.59 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf284.76 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf116.61 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf167.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf135.09 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf169.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.