Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1084
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสรวลสรรค์ พจนอารี-
dc.contributor.authorวรรณรัตน์ รัตนวรางค์-
dc.contributor.authorSraulsun Podjanaaree-
dc.contributor.authorWannarat Ratanawarang-
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Artsth
dc.contributor.otherHuachiew Chalermprakiet University. Faculty of Communication Arts-
dc.date.accessioned2023-01-21T14:23:35Z-
dc.date.available2023-01-21T14:23:35Z-
dc.date.issued2011-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1084-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่อง "การประชาสัมพันธ์ เพื่อการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญของกรมประชาสัมพันธ์" มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญผ่านสื่อต่างๆ และศึกษาปัญหา/อุปสรรค ในการดำเนินงานประชาสัมพันธ์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญผ่านสื่อต่างๆ ของกรมประชาสัมพันธ์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบโครงการฯ จาก 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง ประกอบด้วย กรมประชาสัมพันธ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และส่วนภูมิภาค ประกอบด้วยสำนักประชาสัมพันธ์ เขต 1 ถึงเขต 8 ผลการดำเนินงาน พบว่า การดำเนินงานของกรมประชาสัมพันธ์ และสำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ถึง 8 เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่กำหนดไว้ทั้ง 3 ข้อ คือ 1) เผยแพร่ประชาสัมพันธ์นโยบายปฏิรูปการเมืองการปกครองให้ประชาชนได้รับทราบ 2) เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ 3) เพื่อให้สื่อมวลชนต่างประเทศมีการรับรู้ที่ถูกต้องและมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินนโยบายรัฐบาล ผลการวิเคราะห์ข้อมูล 1) ด้านผลการดำเนินโครงการประชาสัมพันธ์สนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ของสำนักประชาสัมพันธ์เขต พบว่า สำนักประชาสัมพันธ์เขตทั้ง 8 แห่งได้ดำเนินการจัดกิจกรรมที่เป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม การดำเนินโครงการของสำนักประชาสัมพันธ์เขตทุกแห่งมีปัญหาและอุปสรรค โดยปัญหาที่ถูกระบุว่ามีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการได้แก่ 1. ด้านความไม่เพียงพอของงบประมาณที่รับการจัดสรร 2. ความไม่สอดคล้องของนโยบายกับแนวทางท้องถิ่น 3. ความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ในการทำงานและอุปกรณ์ในการสื่อสาร 4. การทำงานซ้ำซ้อนของหลายหน่วยงาน 5. บุคลากรไม่เพียงพอ 6. ความไม่ชัดเจนและไม่ครบถ้วนของการถ่ายทอดนโยบาย 2) ด้านกระบวนการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เพื่อการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญของกรมประชาสัมพันธ์ พบว่า ในขั้นตอนของการปฏิบัติ มี 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัย-รับฟัง/การแสวงหาข้อมูล (Research-Listening) 2) การวางแผนการประชาสัมพันธ์ (Public Relations Planning) 3) การสื่อสาร (Communication) และ 4) การประเมินผล (Evaluation) 3) ด้านปัญหาและอุุปสรรคในการประชาสัมพันธ์โครงการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญของกรมประชาสัมพันธ์ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ 1) ปัญหาและอุปสรรคจากภายในองค์กร ได้แก่ ความจำกัดของระยะเวลาในการจัดทำแผนและความไม่เพียงพอของบุคลากรและงบประมาณ 2) ปัญหาและอุปสรรคจากภายนอกองค์กร ได้แก่ ความกระชั้นชิดของการรับนโยบายจากหน่วยงานภายนอกกับระยะเวลาเริ่มดำเนินการ ทำให้มีการเตรียมงานและศึกษาข้อมูลไม่เพียงพอ การกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความเหมาะสม ความไม่เพียงพอของงบประมาณและการเบิกจ่ายล่าช้า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมและอุปกรณ์ไม่มีความพร้อมในการใช้งาน การบริหารจัดการ ได้แก่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานขาดการประชุมเพื่อร่วมรับฟังความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ ทำให้การกำหนดแผนประชาสัมพันธ์อาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรth
dc.description.abstractThe study entitled “The Public Relations Department ‘ s PR Activities to Encourage theParticipation of the Public in Drafting the Constitution” had the purposes to study the department ‘s public relations process through the media for encouraging public participation in drafting theconstitution and to study the problems and obstacles of the process through its own media. The study was carried out by in-depth interviews with the department ‘s executives and officers responsible for the project in both the central administration and the regional public relations offices, regions 1 to 8. The results of the study: The department in the central administration and its eight regional offices have successfully achieved all three planned purposes of the project which are : 1. To widely publicize political reform policy for public awareness 2. To encourage public participation in the amendment of the constitution. 3. To provide correct information for foreign media and make them confident in Thai government policy. Findings from Information Analysis: 1) All eight Regional Public Relations Offices successfully planned and executed tangible public relations activities towards their target public. However, they all encountered problems and obstacles greatly effecting their success. Those problems and obstacles are:1. Inadequate budget allocation 2. The policy is not in line with local environment. 3. Lack of working and communication tools 4. Working duplication of various units 5. Inadequate workforce6. Unclear and incomplete policy transfer 2) The process of the project had four steps: 1) Research – Listening 2) Public Relations Planning 3) Communication and 4) Evaluation 3) The projects had two types of problems and obstacles. 1) Internal problems and obstacles such as limitation of time for planning and lack of personal and low budget 2) External problems and obstacles such as too short time from policy adoption to policy execution resulting in inefficiency in preparation and data study, unclear specification for personnel from related units, low budget and late disbursement and lack of appropriate equipment and equipment not ready for use. For management problem, some project officers sometimes did not attend the meetings so the execution of public relations process was not as efficient as should be.th
dc.description.sponsorshipการวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ปีการศึกษา 2551th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectกรมประชาสัมพันธ์th
dc.subjectThe Public Relations Departmentth
dc.subjectการประชาสัมพันธ์กับการเมืองth
dc.subjectPublic relations and politicsth
dc.subjectการสื่อสารทางการเมืองth
dc.subjectCommunication in politicsth
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมืองth
dc.subjectPolitical participationth
dc.subjectรัฐธรรมนูญ -- ไทยth
dc.subjectConstitutions -- Thailandth
dc.titleการประชาสัมพันธ์ เพื่อการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญของกรมประชาสัมพันธ์th
dc.title.alternativeThe Public Relations Department 's PR Activities to Encourage the Participation of the Public in Drafting the Constitutionth
dc.typeTechnical Reportth
Appears in Collections:Communication Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf134.4 kBAdobe PDFView/Open
TableofContents.pdf105.61 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf134.29 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf663.9 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf174.3 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf286.55 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf174.82 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf184.62 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.