Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1175
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงและส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Other Titles: Factors Relating Risk Behaviors and Affecting Health Behaviors of Undergraduate Students, Huachiew Chalermprakiet University
Authors: บุบผา วิริยรัตนกุล
วิชุดา กิจธรธรรม
ชิดชนก สิทธารถศักดิ์
นภาพร แก้วนิมิตชัย
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. คณะพยาบาลศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ -- นักศึกษา
Huachiew Chalermprakiet University -- Students
พฤติกรรมสุขภาพ
Health behavior
Issue Date: 2013
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงและส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่มีปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน และเพื่อพัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงและส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ประชากร เป็นนักศึกษาที่กําลังศึกษาในปีการศึกษา 2553 จํานวน 13 คณะวิชา จํานวน 382 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามทักษะชีวิต 3) แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง และ 4) แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานด้วยสถิติบรรยาย เช่น ความถี่ ร้อยละ และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยการวิเคราะห์กลุ่มพหุโดยใช้โปรแกรม LISREL สรุปผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 88.74 มีอายุระหว่าง 17 – 20 ปี ร้อยละ58.38 อายุต่ำสุด 17 ปีสูงสุด 28 ปีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 20.23 ปีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.55 ภูมิลําเนาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจํานวน ร้อยละ 33.77 ที่พักอาศัยขณะศึกษาในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่อยู่หอพักนอกมหาวิทยาลัยคนเดียว ร้อยละ 32.98 เป็นบุตรคนแรกของครอบครัว ร้อยละ 59.95 ส่วนใหญ่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน ร้อยละ 56.02 ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 51.05 สําหรับชั้นปีการศึกษา ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 25.92 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พิจารณาจากคะแนนเฉลี่ยสะสม พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระหว่าง 2.51–3.00 ร้อยละ 39.01 คะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำสุด เท่ากับ 1.54 คะแนนเฉลี่ยสะสมสูงสุด เท่ากับ 3.92 ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.73 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.43 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะชีวิต พฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบว่าปัจจยส่วนบุคคลมีผลต่อทักษะชีวิตของนักศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมสุขภาพ พฤติกรรมเสี่ยงของนักศึกษาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มี 1 ด้าน คือ เพศ และปัจจัยส่วนบุคคลทั้ง 8 ด้าน มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันในการส่งผลต่อทักษะชีวิตของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพศชายมีพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านโภชนาการ ด้านการควบคุมน้ำหนักก ด้านการออกกําลงกายสูงกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เพศชายมีพฤติกรรมเสี่ยงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอุบัติภัยและความรุนแรง ด้านการดื่มเหล้า การสูบบุหรี่ การใช้สารเสพติด สูงกว่าเพศหญิงอยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของทักษะชีวิตและพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิต/นักศึกษาที่มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์มากที่สุด ประกอบด้วย ตัวแปรอิสระที่เป็นตัวแปรแฝงมี 2 ตัวแปร คือ ตัวแปรปัจจัยุส่วนบุคคล (ATT) ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ (HKM) ตัวแปรตามที่เป็นตัวแปรแฝงมี 2 ระดับ ตัวแปรแฝงระดับแรกมี 1 ตัวแปร คือ ตัวแปรทักษะชีวิต (LS) ตัวแปรแฝง ระดับที่สอง มี 1ตัวแปร คือ ตัวแปรพฤติกรรมเสี่ยง (RBE) (χ2 = 231.95, df = 199, P = 0.05, RMSEA = 0.021, CFI = 0.99, GFI = 0.95, AGFI = 0.93, PGFI = 0.68, χ2 /df = 1.17) เมื่อพิจารณาผลรวมอิทธิพล (TE) ของตัวแปรแฝงแต่ละตัว พบว่า ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล (ATT) ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ (HKM) ต่างก็มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรทักษะชีวิต (LS) และ ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล (ATT) ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ (HKM) และตัวแปรทักษะชีวิต (LS) ต่างก็มีอิทธิพลทางตรงต่อตัวแปรพฤติกรรมเสี่ยง (RBE) แต่ไม่มีอิทธิพลตรงต่อตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพ (HBE) นอกจากนี้ตัวแปรปัจจัยสว่นบุคคล (ATT) ตัวแปรการรับรู้ประโยชน์พฤติกรรของมสุขภาพ (HKM) ยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพ (HBE) และตัวแปรพฤติกรรมเสี่ยง (RBE) โดยตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล (ATT) มีอิทธิพลทางลบต่อตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพ (HBE) และมีอิทธิพลทางบวกต่อตัวแปรพฤติกรรมเสี่ยง (RBE) ตัวแปรการรับรู้ ประโยชน์ของพฤติกรรมสุขภาพ (HKM) มีอิทธิพลทางบวกต่อตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพ (HBE) และตัวแปรทักษะชีวิต (LS) ในขณะที่ตัวแปรทักษะชีวิต (LS) มีอิทธิพลทางลบต่อตัวแปรพฤติกรรมสุขภาพ(HBE) และมีอิทธิพลทางลบต่อตัวแปรพฤติกรรมเสี่ยง (RBE) ข้อเสนอแนะควรมีการนำวิจัยไปหาแนวทางเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับครอบครัว เพื่อป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมเสี่ยงของนักศีกษา
This research is the study of factors relating risk behaviors and resulting to health behaviors of the undergraduates ,Huachiew Chalermprakiet University. The objectives are to compare risk behaviors of the undergraduates who have different personnel factors and to develop and verify relation model of factors relating risk behaviors and affecting health behaviors of undergraduates ,Huachiew Chalermprakiet University. The population target is the undergraduates who are studying in year 2010 in 13 faculties total 382 undergraduates. Tools for this study consist of 1) personal information questionnaire 2) skill in living and life management questionnaire 3) risk behavior questionnaire 4) health behaviors questionnaire. Analysis of the data was done with descriptive statistics e.g. frequency, percentage ,standard deviation. Comparative analysis and interpretation of the relations were done with program LISREL. Conclusion the research result revealed that The majority of population are female 88.74 percent, aged 17-20 years 58.38percent. The youngest is 17 years and eldest is 28 years averaging 20.23 years, SD =1.55.Those from the north-east is 33.77 per cent. While studying in university, they stay alone in private rent room 32.98 per cent.59.95 per cent are the only child in the family. Those who have 2 siblings in the family are 56.02 percent. Those who study in science are 51.05 percent. Among these 25.92 per cent are in the first year. Considering the score of the undergrad 39.01 percent achieved GPA between 2.51 - 3.00.The lowest score was 1.54, highest was 3.92, average 2.73, SD = 0.43. The analysis of the life skills, the perception in health behavior practice, risk behaviorof students with different backgrounds revealed that personnel factors affecting the lifeskills but statistically insignificant at p= 0.05.The personnel factor that affects , the healthbehavior ,risk behavior is gender at statistical significance level 0.05. All 8 personnel factorscombine to affect the life skills significant statistically. Male has better health behavior in 3areas that are Nutrition ,body weight control ,exercise than female at statistic significancelevel 0.05.Male has all 3 risk behaviors i.e. accident and aggression ,drinking ,smoking,drug more than female at statistic significance level 0.05. The relation model of life skills and risk behavior s of undergrad that is most consistent with evidence-based data consists of two free variables. They are personnel variables (ATT) and beneficial perception of health behavior (HKM).Two variables that are hidden variables are variable in life skills and variable in risk behavior (RBE). (χ2 = 231.95,df = 199 , P = 0.05, RMSEA = 0.021 ,CFI = 0.99 ,GFI =0.93 ,PGFI = 0.68 ,χ2 /df = 1.17). Analysis of Total influence (TE) of each variable, it was found that personnel factors variable (ATT) ,variable in skill in living and life management (HKM) has direct effect to life skills and personnel factors (ATT) .Variable in beneficial perception of health behavior (HKM) and variable in life skills have direct influence to risk behavior(RBE) but not tovariable of health behavior. Besides the personnel variable (ATT) ,beneficial perception tohealth behavior variable (HKM) have indirect effect to health behavior variable (HBE) andrisk behavior variable (RBE).The personnel variables (ATT) have negative effect to healthbehavior variable (HBE) but positive to risk behavior variable (RBE). The variable of beneficial perception to health behavior (HKM) has direct effect to health behavior variable (HBE) and variable in skill in living and life management while variable in life skills has negative effect to health behavior variable (HBE) and risk behavior variable (RBE). Suggestion The research guideline should be applied for cooperation among the educational institutions and social groups to help prevention and modification of students’ risk behaviors.
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/1175
Appears in Collections:Nursing - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf149.84 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf121.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf115.5 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf631.18 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf161.07 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf451.22 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf182.74 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf326.27 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.