Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/156
Title: การศึกษากระบวนการและรูปแบบบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์
Other Titles: The Process and Integration Model of Community Welfare Funds at Tambon Level in Kalasin Province
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
ธนะชัย บัวบุปผา
Thanachai Buabuppha
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: บริการสังคม -- ไทย -- กาฬสินธุ์
การพัฒนาชุมชน -- ไทย -- กาฬสินธุ์
กองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล -- ไทย -- กาฬสินธุ์
Social services -- Thailand
Community development -- Thailand
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การศึกษากระบวนการและรูปแบบบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและกองทุนสวัสดิการชุมชนของเทศบาลตำบลบัวขาว 2) เพื่อศึกษากระบวนการและรูปแบบบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล 3) เพื่อแสวงหาแนวทางในการพัฒนารูปแบบบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลอย่างยั่งยืน โดยเลือกกองทุนสวัสดิการชุมชนเทศบาลตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกรณึศึกษาและใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมที่มีแกนนำสมาชิกและคณะกรรมการกองทุนชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบัวขาวทั้ง 8 ชุมชน เป็นผู้ร่วมวิจัยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้เทคนิคการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ใช้การอภิปรายในการประชุมกลุ่มใหญ่เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาข้อสรุปที่เป็นฉันทามติเป็นการเรียนรู้ร่วมกันของผู้ร่วมการวิจัย ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ เทศบาลตำบลบัวขาว เป็นเทศบาลระดับกลาง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาคือเกษตรกรรม ค้าขาย และอุตสาหกรรมขนาดย่อม สภาพทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี เนื่องจากเป็นศูนย์กลางของความเจริญที่สุดของอำเภอกุฉินารายณ์ ประชาชนมีการรวมกลุ่มกันเป็นกองทุนเงินหมุนเวียน กองทุนสวัสดิการ กองทุนส่งเสริมอาชีพ แต่เนื่องจากแต่ละกองทุนต่างมุ่งสร้างสวัสดิการเฉพาะเรื่องสมาชิก และยังไม่เข้มแข็ง จึงเกิดแนวคิดที่จะบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล กระบวนการที่จะนำไปสู่ความสามารถในการบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล ควรเริ่มจาก 1) คัดเลือกพื้นที่นำร่องและกองทุนชุมชนที่สนใจ มีความพร้อมร่วมบูรณาการ 2) จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจในชุมชน 3) คัดเลือกคณะทำงานบูรณาการกองทุน 4) สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานชุมชน 5) จัดทำแผนงานเกี่ยวกับการบูรณาการกองทุนชุมชน 6) ปฏิบัติงานตามแผนบูรณาการ 7) ติดตามประเมินผล 8) จัดเวทีสรุปการดำเนินงานและถอดบทเรียน นำสู่การแก้ไขแผนบูรณาการในครั้งต่อไป สำหรับรูปแบบบูรณการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล เป็นรูปแบบของการเชื่อมโยงประสานกันเป็นเครื่อข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยแต่ละกองทุนที่อยู่ในเครือข่ายต้องปรับปรุงระเบียนให้สอดคล้องกัน และจัดตั้งศูนย์ประสานงาน ณ ที่ทำการกองทุนสวัสดิการชุมชน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เป็นที่ปรึกษา มีการจัดทำแผนงานร่วมกันในการป้องกัน แก้ไขปัญหา และพัฒนาสังคมภายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ด้านแนวทางการพัฒนารูปแบบบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลอย่างยั่งยืน ควรมีการเชื่อมโยงกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบล สู่ระดับอำเภิ และระดับจังหวัด โดยมีคณะกรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนสวัสดิการชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์เป็นที่ปรึกษา ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นศูนย์ประสานงานและเจ้าภาพหลักในการขับเคลื่อน ให้จัดตั้งคณะกรรมการเครือข่ายทุกระดับ ให้กำหนดระเบียบ วัตถุประสงค์และแผนงาน/โครงการร่วมกัน ให้นำทรัพยากรที่แต่ละกลุ่มมีอยู่มาบูรณาการเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันให้สรุปบทเรียน และประเมินผลของกองทุนสวัสดิการชุมชน เพื่อให้กองทุนสวัสดิการชุมชนมีความยั่งยืน รัฐบาลควรสนับสนุนเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับตำบลอย่างต่อเนื่องตามโครงการสนับสนุนการจัดสวัสดิการชุมชนในหลักเกณฑ์ 1:1:1 ที่รัฐได้ดำเนินการมาแล้วตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรจัดสรรเงินสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชนตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2553 เรื่อง แนวทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมบทงบประมาณแก่กองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นการยึดหลักการปฏิบัติงานที่ได้บัญญัติบทบาทหน้าที่ไว้ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 ควรเพิ่มทักษะความรู้เกี่ยวกับสวัสดิการชุมชนและการบูรณาการให้กับเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาสังคม ทั้งในระดับท้องที่ ท้องถิ่น อำเภอ และจังหวัด และควรจัดสรุปบทเรียนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ให้การสนับสนุนกองทุนสวัสดิการชุมชน มุ่งสู่การบูรณาการกองทุนสวัสดิการชุมชนที่หลากหลาย โดยชุมชนเป็นผู้กำหนดทิศทางและจัดการเอง เป็นการเตรียมความพร้อมสู่สวัสดิการสังคมถ้วนหน้าในอนาคต
The study of the Process and Integration Model of Community Welfare Funds at Tambon Level in Kalasin Province has three objectives: 1) to study the community context and community welfare funds of Tambon Buakhap Municipality 2) to examine the process and integration model of community welfare funds at tambon level, and 3) to seek ways to develop a sustainable integration model of community welfare funds at tambon level. The community welfare funds of Tambon Buakhao Municipality, Kuchinarai district, Kalasin province were chosen as a case studt, based on a participatory action research, in which core leading members and all community fund committee members of eight communities in Tambon Buakhao Municipality took part. Workshops were hela as a tool for collecting data while group discussions were organized to mobilize the expression of opinions. Plenary dabates were conducted to analyze the collected data and reach a conclusion, which was a consensus based on the mutual learning of those participated in the research. Following are the research findings. Tambon Buakhao Municipality is a medium-sized community. Its majority population was waged workers; ranking next were farmers, trader, and small-scale industrailists. The community's economic condition was rather good as it was the most prosperous center of Kuchinarai district. The peo[le formed themselves to set up revolving funds, welfare funds, and employment-generating funds. But each fund aimed to provide benefits for its members and was not strong enough. So a proposal for the integration of community welfare funds at tambon level was put forward. The process to enable the integration of community welfare funds at tambon level should to be in the following sequence: 1) selecting a pilot area and community funds interested and ready to be integrated, 2) facilitating learning forums for community understanding, 3) selecting a working group for the community funds integration, 4) surveying and analyzing community base information, 5) making plans on the community funds integration, 6) implementing the plans 7) monitoring and evaluating, and 8) organizing a forum for the summary of the operation and lessons learning to improve the next intergration planning. The proposed integration model of community welfare funds at tambon level will be that of a netwrok of community welfare funds. Each member of the network must modify its rules and make them harmonize with each other. A coordinating center must be established at the community welfare fund offices, with local administration organizations and local agencies concerned acting as advisers. Continued mutual plans on community development, the prevention of and solutions to community problems must be made. To make the community welfare funds sustainable, the government should contribute its counterpart funding to the community welfare funds, on a continual basis and according to the required ration of 1:1:1, under the Project to Support the Community Welfare Provision being in operation since the 2010 fiscal year. Local administration orgainzations should also give their counterpart funding to the community welfare funds, in accordance with the cabinet resolution made on 29 June 2010 on guidelines on local administrtion organizations' contributions to the community welfare funds. Such role of the local administration organizations is assigned by the Act on Determining Plans and Process of Decentralization to Local Government Organizations B.E. 2541 (1999) and Social welfare Promotion Act B.E. 2546 (2003) and its Amendments (No.2) B.E. 2550 (2007). Social development operators at local, district and provincial levels should have their skills and knowledge of community welfare provision and integration enhanced. And forums for mutual lessons learning between communities and concerned agencies supporting community welfare should be facilitaed so that diverse integration models of community welfare funds can be attained, with the direction and management of the communities themselves. This will pave the way for the country to become a welfare-for-all society in the future.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/156
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf289.23 kBAdobe PDFView/Open
Table of Content.pdf94.48 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 1.pdf129.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 2.pdf488.8 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 3.pdf111.46 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 4.pdf443.36 kBAdobe PDFView/Open
Chapter 5.pdf153.73 kBAdobe PDFView/Open
Reference.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.