Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/174
Title: ความรู้ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้มาใช้บริการในมูลนิธิบ้านอารีย์และโครงการบ้านปันรัก
Other Titles: Knowledge and Comprehension on Philosophy of Sufficience Economy and the Application to Their Daily Practices of Client of Baanaree Foundation and House of Love Association's Members
Authors: จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร
Jaturong Boonyarattanasoontorn
วีรณัฐ โรจนประภา
Veeranut Rojanaprapa
Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
Keywords: มูลนิธิบ้านอารีย์
โครงการบ้านปันรัก
เศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Sufficiency economy
Issue Date: 2012
Publisher: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Abstract: การวิจัยเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ของผู้มาใช้บริการในมูลนิธิบ้านอารีย์ และสมาคมบ้านปันรัก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และระดับการนำไปใช้ในชีวิตประจำวันของผู้มาใช้บริการมูลนิธิบ้านอารีย์ และสมาคมบ้านปันรัก เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ ความเข้าใจและระดับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ที่มาใช้บริการในมูลนิธิบ้านอารีย์และทำกิจกรรมในสมาคมบ้านปันรักจำนวน 370 คน ใช้สถิติพรรณนาในการประมวลผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง และใช้ไค แสควร์ในการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อยู่ในวัยสูงอายุ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน มีค่าเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ที่ร้อยละ 74.90 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง เช่นเดียวกับ การนำไปใช้ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 75.18 สำหรับการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้ ความเข้าใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไม่พบปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ พบว่า มี 2 ปัจจัย คือ ความถี่ในการรวมกลุ่ม กับความถี่ในการทำกิจกรรมกุศล ที่ส่งผลต่อระดับการนำไปใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยจะแปรผันตามความถี่ของทั้ง 2 ปัจจัย สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้ กับระดับการนำไปใช้ ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาดังกล่าว ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ รัฐบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนได้ฟังธรรมอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งส่งเสริมประชาชนเข้าร่วมกลุ่มจิตอาสา ขณะที่ในระดับปฏิบัติการควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยส่งเสริมให้แต่ละจังหวัดแต่ละพื้นที่จัดตั้งศูนย์ที่จะให้คนในพื้นที่มารวมกลุ่มกันทำกิจกรรมเพื่อสังคม ควรร่วมมือกับสำนักพระพุทธศาสนาที่ดูแลวัดอยู่ทั่วประเทศ ให้พระสงฆ์จัดการบรรยายธรรมในทุกชุมชนเป็นประจำ และอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระต้นเร้าให้เกิดการใช้ชีวิตสมถะ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และรัฐบาลควรใช้ช่องทางที่มีอยู่เช่น วิทยุ และโทรทัศน์ จัดทำสื่อให้บุคคลสาธารณะ มาสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นจิตสำนึกของประชาชนให้หันมาสนใจการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงให้มากยิ่งขึ้น ในส่วนของมูลนิธิบ้านอารีย์ และสมาคมบ้านปันรักนั้น มีข้อเสนอให้นำระบบจัดการทะเบียนสมาชิก ตรวจสอบความถี่และประเภทการมาใช้บริการ และนำมาประเมินเพื่อกระตุ้นเร้าให้เกิดความถี่ในการเข้าร่วมมากขึ้น อันจะส่งผลให้เกิดการใช้ชีวิตอย่างพอเพียงมากขึ้น
The research on "Knowledge and Comprehension on Philosophy of Sufficience Economy and the Application to Their Daily Practices of Clients of Baanaree Foundation and House of Love Association's Member" has objectives to study the knowledge and comprehension level and application to their daily practice level on philosophy of sufficience economy, and the effecting factors. Samples of this research are 370 clients of Baanaree Foundation and House of Love Assoication. The descriptive statistic is used to find out the clients' background and their levels of both knowledge and application based on philosophy of sufficiency economy. Chi-square is used to analyse the effecting factors on knowledge and application levels. The findings are as follows. Most samples are female, elderly, with bachelor degree, government/state enterprise employee, and having income less than 15,000 Bht/month. The average knowledge and practices is 74.90% and 75.18% which is as of middle and high level respectively. Chi-square statistics indicates that no factor related significantly to the level of knowledge. There are only 2 factors, the frequency of attending group activities and charity activities, related significantly to application level but the relationship between level of knowledge and level of application do not related significantly. Based on finding, recommendations are ; government should promote the suitable way of Bhuddist live, learning Dharma once a week as National agenda, encourage people to join volunteer groups, assign Ministry of Interior to set up center where local people in every provinces and communities can implement activities for their society, and collaborate with National Office of Buddhism to establish Dharma's talk continuously and make the spots that invite influence public people to stimulate people conciousness to live on simple life uselize existing mass media such as raduo and television. For Baanaree Foundation and House of Love Association should implement the customer relation management, colect clients's data to encourage them for increase attendent frequency that will bring them to live in sufficience economy philosophy.
Description: วิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (บูรณาการนโยบายสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2555
URI: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/174
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Abstract.pdf177.51 kBAdobe PDFView/Open
Tableofcontents.pdf71.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter1.pdf103.65 kBAdobe PDFView/Open
Chapter2.pdf279.95 kBAdobe PDFView/Open
Chapter3.pdf97.53 kBAdobe PDFView/Open
Chapter4.pdf189.45 kBAdobe PDFView/Open
Chapter5.pdf133.32 kBAdobe PDFView/Open
References.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.