Please use this identifier to cite or link to this item: https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/182
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสาวนิจ นิจอนันต์ชัย-
dc.contributor.authorวิชภา หลวงจอก-
dc.date.accessioned2022-04-30T09:27:39Z-
dc.date.available2022-04-30T09:27:39Z-
dc.date.issued2007-
dc.identifier.urihttps://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/182-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2550th
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลต่อบทบาทในครอบครัวและการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาของ การสนับสนุนทางสังคมต่อสตรีกะเหรี่ยง (2) เพื่อศึกษาการปรับตัวทางสังคมของสตรีกะเหรี่ยง (3) เพื่อศึกษาบทบาทสตรีกะเหรี่ยง (4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทของสตรีกะเหรี่ยง และตั้งสมมติฐาน ดังนี้ - ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกะเหรี่ยงว่าด้วยบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน - การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกะเหรี่ยงว่าด้วย บทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน - การปรับตัวทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกระเหรี่ยงว่าด้วย บทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สตรีกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี จำนวน 350 คน การเก็บรวมรวบข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Window เพื่อหาค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และทดสอบหาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทสตรีมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกะเหรี่ยงว่าด้วยบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน รายละเอียดดังนี้ 1.1 การนับถือศาสนาของสตรีกะเหรี่ยงมีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ มีผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยง ซึ่งการนับถือศาสนากลับไม่มีผลต่อบทบาท การผลิตของสตรีกะเหรี่ยง 1.2 อายุของสตรีกะเหรี่ยงมีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ แต่ไม่มีผลต่อบทบาท การผลิต และบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชน 2. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีกะเหรี่ยงว่าด้วย บทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน 2.1 การสนับสนุนทางสังคมด้านเครื่องมือ สิ่งของ เงินทอง และแรงงาน มีผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชน แต่ไม่มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ และบทบาทด้านการผลิต 2.2 การสนับสนุนทางสังคมด้านการยอมรับและเห็นคุณค่า มีผลต่อบทบาทด้าน การผลิตและบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน แต่ไม่มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ 2.3 การสนับสนุนทางด้านข้อมูล ข่าวสาร และด้านการบริการ มีผลต่อบทบาทด้าน การมีส่วนร่วมในชุมชน แต่ไม่มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์และบทบาทด้านการผลิต 3. การปรับตัวทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับบทบาทของสตรีชาติพันธุ์ว่าด้วยบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ บทบาทด้านการผลิต บทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน 3.1 การปรับตัวทางสังคมด้านความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า มีผลต่อบทบาทด้านการผลิตไม่มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์และบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน 3.2 การปรับตัวทางสังคมด้านความปลอดภัย มั่นคง เสรีภาพ มีผลต่อบทบาทสตรีในด้านการเจริญพันธุ์ และมีผลต่อบทบาทการมีส่วนร่วมในชุมชน แต่ไม่มีอิทธิพลต่อบทบาทด้าน การผลิต 3.3 การปรับตัวทางสังคมด้านความรู้สึกตึงเครียดและรู้สึกเกินขีด มีผลต่อบทบาทด้านการเจริญพันธุ์ แต่ไม่มีผลต่อบทบาทด้านการผลิตและบทบาทด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน ข้อเสนอแนะ การศึกษาครั้งนี้พบว่ากระบวนการที่นำไปสู่การสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวของสตรีกะเหรี่ยง ส่งผลต่อบทบาทของสตรีในด้านการเจริญพันธุ์ ด้านการผลิต และด้านการมีส่วนร่วมในชุมชน ซึ่งจากข้อค้นพบทำให้ทราบถึงปัญหาที่สตรีกะเหรี่ยงกำลังเผชิญ ทำให้เล็งเห็นถึงประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้ 1. หน่วยงานที่มีส่วนข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรี เช่น คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติสมควรให้การสนับสนุนทางสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับสตรีกะเหรี่ยงในด้านความเท่าเทียมด้านการศึกษา และที่สำคัญการสนับสนุนด้านการประกอบอาชีพ พร้อมทั้งสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในระดับท้องถิ่นให้เกิดประสิทธิภาพ 2. ส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคและคุ้มครองป้องกันสตรี จากการกระทำที่ปราศจากความยุติธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ว่าจะเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ถิ่นกำเนิด ภาษา และปลูกฝังความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน สังคม 3. ควรให้ความสำคัญต่อสุขภาพอนามัยของสตรีกลุ่มชาติพันธุ์ โดยผ่านกระบวนการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านสุขอนามัย และเรื่องอนามัยเจริญพันธุ์ 4. ให้การสนับสนุนบทบาทด้านการผลิตให้กับสตรีกะเหรี่ยง เช่น การอบรมด้านอาชีพการจัดสรรที่ดินให้กับสตรีกะเหรี่ยงที่ไม่มีดินทำกิน เพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว 5. ควรส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชนให้กับสตรีกะเหรี่ยง เช่น การมีส่วนร่วมตัดสินใจในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดผลกระทบหรือได้รับประโยชน์ต่อสตรีกะเหรี่ยงth
dc.description.abstractThe study of Social support and Social adjustment having an impact towards Karen women about their roles in the family and their involvement in the community has the following objectives 1) To study the social support towards Karen women, 2) To study the self adjustment of Karen women, 3) To study the roles of Karen women and 4) To study the factors having an impact on the roles of Karen women with the following hypothesis; -Personal factors have a positive relationship with the roles of Karen women regarding their breed, their production and their involvement in the community - Social support has a positive relationship with the roles of Karen women groups regarding their reproduction, their production and their involvement in the community. -Social adjustment has a positive relationship with the roles of Karen women groups regarding their reproduction, their production and their involvement in the community. The samplings used in this study are 350 Karen women living in the area of Suan Phueng District of Ratchaburi Province. The questionnaires were used in the process of data collection which was later analyzed using SPSS for Windows program to find values in percentage, mean, standard deviation and multiple regression analysis. From the result of the study, it was found that the factors that have the effect toward the roles of the women which can be stated as follows; 1. Personal factors have a positive relationship toward the roles of the Karen women regarding their reproduction, their production and their involvement in the community as per detailed below; 1.1 Religious profession of Karen women has an impact towards their reproduction and their involvement in the community, but it has no impact towards their production. 1.2 Age of Karen women has an impact towards their reproduction, but has no impact towards their production and their involvement in the community. 2. Social support has a positive relationship with the roles of Karen women groups regarding their reproduction, their production and their involvement in the community 2.1 Social support to Karen women in materials, tools, moneys and labors has an impact on their involvement in the community, but it has no impact towards their reproduction and their production. 2.2 Social support to Karen women in acceptance and understanding their values, has an impact on their production and their involvement in the community, but it has no impact towards their reproduction. 2.3 Social support to Karen women in information and services has an impact on their involvement in the community, but it has no impact towards their reproduction and their production. 3. Social adjustment has a positive relationship with the roles of Karen women groups regarding their reproduction, their production and their involvement in the community 3.1 Self adjustment of Karen women in acceptance and understanding their values has an impact on their production, but it has no impact towards their reproduction and their involvement in the community. 3.2 Self adjustment of Karen women in security and freedom has an impact on their reproduction and their involvement in the community, but it has no impact on their production. 3.3 Self adjustment of Karen women in feelings of stress and overloads has an impact on their reproduction, but it has no impact on their production and their involvement in the community. Suggestions (or Recommendations) With this study, it was found that the process that leads to the social support and social adjustment of the Karen women has an effects towards the roles of the women regarding their reproduction, their production and their involvement in the community. Further more, from the findings, there were some problems encountered by the Karen women, identified which leads to the realization of the following key issues; 1. Organizations working in the field of developing women’s quality of life, for example the National Women Promotion and Coordination Committee should provide the social support, that emphasizes on developing a quality of life, to the Karen women concerning the equivalent access to education and the significant support in promotion of occupation as well as promote and support the implementation of the local governmental and private organizations for their efficiency or effectiveness. 2. Promoting the equality of human rights and protecting women from unjust activities regardless of their nationality, ethnicity, origin and languages as well as increasing the perception of their being part in the community/society. 3. Realizing the importance of health condition of women of ethnic groups through the process of raising awareness about their sanitation/hygiene and reproductive health. 4. Promoting the role of production to Karen women, such as providing skills training, arranging land rights for the Karen women who have had no lands for their cultivation, so as to generate more income for their families. 5. Promoting the involvement of Karen women in the community, such as involvement in making decision for any activity that may have an effect towards Karen women.th
dc.language.isothth
dc.publisherมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติth
dc.subjectสตรี -- ไทย -- ภาวะสังคมth
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางสังคม -- ไทยth
dc.subjectการปรับตัวทางสังคมth
dc.subjectกะเหรี่ยงth
dc.subjectWomen -- Thailand -- Social conditionsth
dc.subjectSocial participationth
dc.subjectSocial adjustmentth
dc.subjectKaren (Southeast Asian people)th
dc.titleการสนับสนุนทางสังคมและการปรับตัวทางสังคมที่มีผลต่อบทบาทในครอบครัวและการมีส่วนร่วมในชุมชนของสตรีกะเหรี่ยงth
dc.title.alternativeThe Effect of Social Support and Social Adjustment towards Roles in the Family and Involvement in the Community of Karen Womenth
dc.typeThesisth
dc.degree.nameสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิตth
dc.degree.levelปริญญาโทth
dc.degree.disciplineการบริหารสังคมth
Appears in Collections:Social Work and Social Welfare - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf130.95 kBAdobe PDFView/Open
tableContent.pdf147.19 kBAdobe PDFView/Open
chapter1.pdf216.83 kBAdobe PDFView/Open
chapter2.pdf472.9 kBAdobe PDFView/Open
chapter3.pdf140.64 kBAdobe PDFView/Open
chapter4.pdf732.92 kBAdobe PDFView/Open
chapter5.pdf290.44 kBAdobe PDFView/Open
reference.pdf340.4 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.